วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Present Perfect Tense

หลักการใช้
กริยาสามช่องหน้าตาเป็นอย่างไร
การย่อรูป have, has ทำอย่างไร
         1. ใช้กับเหตุการณ์เกิดขึ้นในอดีต ดำเนินมาจนถึงขณะนี้ และจะต่อเนื่องไปในอนาคต และจะมีสองคำนี้ประกอบอยู่ด้วย คือ
for ฟอ เป็นเวลา (กี่นาที กี่ชั่วโมง กี่วัน กีสัปดาห์ กี่ปี)
since ซินซ ตั้งแต่ (ตั้งแต่ชั่วโมงไหน วันไหน สัปดาห์ไหน เดือนไหน ปีไหน)

She has studied English since July.
หล่อนเรียน(แล้ว)ภาษาอังกฤษ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม (เรียนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ตอนนี้เดือนกันยายนแล้ว และมีแนวโน้มจะเรียนต่อไปอีก)
He’s worked in the garden since 8 o’clock. อ่านเพิ่มเติม 

present continuous tense

หลักการใช้
       การย่อรูปกริยา
1. ใช้กล่าวเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นขณะที่พูดอยู่ หรือในระหว่างอาทิตย์นั้น เดือนนั้นก็ได้ ซึ่งอาจจะมีคำเหล่านี้อยู่ด้วยก็ได้
now / right now ตอนนี้
at the moment ตอนนี้

           หลักการแปล ให้แปลรวบ is am are กับกริยาที่เติม ing ว่า ” กำลัง….”
I am studying hard, John. จอห์น ฉันกำลังเรียนหนักนะ (ไม่ใช่ขณะนี้ แต่เป็นพักนี้)
Most students are using mobile phones. นักเรียนส่วนใหญ่กำลัง(นิยม)ใช้โทรศัพท์มือถือ (ไม่ใช่ขณะนี้ แต่เป็นปัจจุบันนี้)
He is driving a car. เขากำลังขับรถ
She‘s eating an apple. หล่อนกำลังกินแอปเปิ้ล อ่านเพิ่มเติม

past continuous tense

หลักการใช้
        1. ใช้เล่าเหตุการที่กำลังเกิดขึ้นในอดีต เช่น   เมื่อวานนี้ฉันไปเที่ยวสวนสาธารณะแล้วก็เห็นอะไรหลายๆอย่างดังนี้
            เมื่อวานครอบครัวของฉันไปสวนสาธารณะมา ฉันกำลังกินอาหารว่าง แม่กำลังอ่านหนังสือพิมพ์ คุณพ่อกับน้องชายกำลังเล่นฟุตบอล ส่วนน้องสาวกับเพื่อนๆของเธอกำลังเล่นวอลเลย์บอล หมาของฉันกำลังนอนหลับอยู่ใต้ต้นไม้ มันเป็นวันที่สดใสจริงๆ
              My family went to the park yesterday. I was eating some snacks. My mom was reading a newspaper. My dad and my brother were playing football. My sister and her friends were playing volleyball. My dog was sleeping under the tree. It was a really beautiful day. อ่านเพิ่มเติม 

future continuous tense

หลักการใช้
                  ใช้กล่าวถึงเหตุการที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต หมายความว่า ณ ช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต ฉันกำลังทำอะไรบางอย่างอยู่นะ ซึ่งนานๆ นานมากกว่าจะได้พูดทีหนึ่ง ในที่นีขอยกตัวอย่างมาให้ดู  2 แบบนะครับ คือ มีเหตุการณ์เดียว และมีสองเหตุการณ์เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน

           แบบมีเหตุการณ์เดียว  ส่วนมากจะระบุเวลาในอนาคตด้วย เช่น
I will be reading books at 8 o’clock tomorrow.
ฉันจะกำลังอ่านหนังสือเวลา 8 นาฬิกา วันพรุ่งนี้
หมายความว่า พรุ่งนี้เวลา 8 นาฬิกา ฉันกำลังอ่านหนัสืออยู่นะ ไม่เชื่อรอดูก็จะเห็น
At nine o’clock tomorrow, we will be working on farm.
พรุ่งนี้เวลา 9 นาฬิกา พวกเราจะกำลังทำงานในฟาร์ม
หมายความว่า พรุ่งนี้ตอนเช้า ถ้าคุณมาฟาร์มของเรา คุณก็จะเห็นพวกเรากำลังทำงานอยู่
แบบมีสองเหตุการณ์ ดู Time Line  (เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นใช้ Future Continuous อีกเหตุการณ์หนึ่งใช้ Present Simple)
She will be waiting when you arrive.
หล่อนจะกำลังรอคอย เมื่อคุณมาถึง
หมายความว่า เมื่อคุณมาถึง คุณก็จะเห็นหล่อนกำลังรอคอยอยู่ อ่านเพิ่มเติม

future simple tense

              หลักการใช้ Future Simple Tense (Tense อนาคตธรรมดา) เป็นอีกหนึ่ง Tense ที่ค่อนข้างง่ายไม่ยุ่งยากเท่าไหร่

Future Simple Tense

Future ฟิวเชอะ= อนาคต

Simple ซิมเพิล = ธรรมดา

                ที่บอกว่า “อนาคตธรรมดา” หมายถึง ในช่วงเวลาหนึ่งของอนาคต จะมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น (เช่น ฉันจะทำอะไรบางอย่าง ในเวลานั้น เป็นต้น) อ่านเพิ่มเติม

Present Simple Tense

                    Tense นี้ค่อนข้างจะยุ่งยากนิดหน่อยตรงที่ประธานเอกพจน์ต้องเติม s ส่วนประธานพหูพจน์ไม่ต้องเติม สิ่งที่จะสร้างความยุ่งยากนิดหนึ่งคือการเติม s เพราะกริยาบางตัวต้องเติม es ไม่ใช่แค่ s เฉยๆ แต่ไม่ใช่เรื่องยากถ้าได้ศึกษาการเติม s ที่้ท้ายคำนามเพื่อให้นามนั้นเป็นพหูพจน์
หลักการใช้
ในหนังสืออาจจะบอกไว้หลายข้อ แต่ให้ผู้เรียนจำไว้แค่ 2 ข้อ คือ จริงและวัตร
               1. จริง คือ ข้อเท็จจริงทั่วไป ซึ่งเป็นการบอกกล่าว เล่า ถามเรื่องราว เหตุการที่เป็นข้อเท็จริงทั่วๆไป (facts) และข้อมูลข่าวสาร (information)  ถ้าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคนจะเป็นข้อมูลบอกให้รู้ว่าเขาเป็นใคร มาจากไหน มีอาชีพอะไร ชอบอะไร เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม 

past simple tense

Past Simple Tense (Tense อดีตธรรมดา)
Past พาสท= อดีต
Simple ซิ๊มเพิล = ธรรมดา


หลักการใช้
                Past Simple Tense ถือว่าง่ายที่สุดเลยเพราะประธานทุกตัวใช้กริยาช่องสองเหมือนกัน (เว้น wasใช้กับประธานเอกพจน์, were ใช้กับประธานพหูพจน์) ให้จำหลักสำคัญของ Tense นี้ไว้ว่า เป็นการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต และก็จบลงไปแล้วด้วย ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจุบัน

        1. ใช้เล่าเหตุการณ์ในอดีต ที่จะระบุเวลากำกับ หรือรู้กันดีว่ามันเกิดในอดีตนะ
เล่าเหตุการณ์ที่มีเวลากำกับ คำกำกับเวลาที่พบบ่อย ได้แก่
– yesterday เย็สเตอเด เมื่อวาน
– last + เวลา/ วัน/ สัปดาห์/ เดือน/ฤดู/ ปี เช่น
last hour ลาสท เอาเวอะ ชั่วโมงที่แล้ว
last night ลาสทไนท คืนที่แล้ว
last Monday ลาสท มันเด จันทร์ที่แล้ว last Tues อ่านเพิ่มเติม

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Gerund

Gerund คือ คำกริยา + ing หรือ v-ing
            Gerund มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับ present participle แต่ทำหน้าที่ต่างกัน นั่นคือ present participle ทำหน้าที่เป็น ‘predicative adjunct’ และ ‘คุณศัพท์’ ส่วน
gerund ทำหน้าที่เป็น ‘คำนาม’ เมื่อ gerund เป็น ‘คำนาม’ gerund จึงทำหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้

1. ใช้เป็นประธานของประโยค
2. ใช้เป็นกรรมของบุพบท
3. ใช้เป็นกรรมของคำกริยา vt
4. ใช้ตามหลัง verb to be เพื่อแสดงตัวตนของประธาน (subjective comple-ment)

1. การใช้ gerund เป็นประธานของประโยค
         การใช้ gerund เป็นประธานของประโยคนี้ เราสามารถสร้างเองได้ โดยการนำคำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับหรือที่ต้องมีกรรมมารองรับคำใดก็ได้มาทำเป็น gerund โดยการเติม –ing เข้าไปที่คำกริยาคำนั้น แล้วก็นำมาเป็นประธานของประโยคได้ทันที  ดังต่อไปนี้

–Eating healthily is good for you.

–Playing football is his favorite sport.

–Watching movie is her leisure.

–Reading English novel is very easy.

–Being punished is hard for him to accept. อ่านเพิ่มเติม 

infinitive

การใช้ Infinitive ในภาษาอังกฤษ             Infinitive คือ คำกริยารูปปกติ (กริยาช่อง 1) ซึ่งในภาษาอังกฤษนี้เราสามารถแบ่ง infinitive ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ Infinitive with to, Infinitive without to
การใช้กริยา 2 ตัวนี้มันแทบจะไม่ต่างกันเลย เพียงแค่ตัด to กับไม่ตัด to แต่เวลานำมาใช้จริงกับแตกต่างกันมาก ซึ่งจุดนี้คือจุดที่หลายคน งง กันมาก

1.Infinitive with to....
        Infinitive with to.....หรือ กริยาช่อง 1 ที่นำหน้าด้วย To เป็นกริยาที่ตามด้วย to + infinitive ตามหลังกริยาแท้ส่วนลักษณะการใช้นั่นก็แบ่งหน้าที่การใช้ได้หลายรูป เช่น เป็นคำนามทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค, เป็นกรรมของประโยค
        , ทำหน้าที่เป็นคำขยาย ขยายคำนาน (Noun) หรือ คำคุณศัพท์ (Pronoun), ทำหน้าที่เป็นคำขยายกริยา(adverb) เป็นต้น ตัวอย่างเช่น.. อ่านเพิ่มเติม 

Tense

Present Tense เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
1.1 Presenst Simple บอกข้อเท็จจริงทั่วไป
  - I eat rice everyday. ฉันกินข้าวทุกวัน
1.2 Present Continuous บอกเหตุการณ์ที่กำลังกระทำขณะนี้
  - I am eating rice. ฉันกำลังกินข้าว
1.3 Present Perfect บอกเหุตการณ์ที่ได้ทำเสร็จแล้วขณะพูด หรือ เหตุการณ์ที่กระทำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้
 - I have eaten rice. ผมกินข้าวแล้ว (กินอิ่มมาแล้ว)
 - I have eaten rice for 20 minutes. ผมกินข้าวแล้วเป็นเวลา 20 นาที (ตอนนี้ก็กินอยู่) อ่านเพิ่มเติม